แคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา หน้าร้อนที่ผ่านมา ปลาแซลมอนหลายสิบล้านตัวถูก”ต้มสุก”ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ถิ่นอาศัยปกติของพวกมัน ที่ซึ่งมันใช้แหวกว่ายหากินและเติบโตมายาวนานนับปี สาเหตุก็คือภาวะโลกร้อน อุณหภูมิโลกที่สูงผิดปกติ แสงแดดแผดเผาและความแห้งแล้ง(น้ำน้อยและแหล่งน้ำตื้นเขิน)ทำให้อุณหภูมิน้ำเพิ่มสูง การเพิ่มจำนวนของปาราสิตและตะไคร่น้ำ จนถึงขีดอันตรายต่อปลาแซลมอนที่เป็นสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำเย็นถึงเย็นจัด
ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน เหล่านักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์ต้องร่วมมือขนานใหญ่ ต้องมีการผันน้ำจากแหล่งน้ำอื่นจากที่ไกลออกไป เข้าไปเติมปริมาณน้ำ สร้างสะพานปลาเทียม ทำทางด่วน ทางลัด ช่วยให้ปลาสามารถว่ายออกสู่มหาสมุทรได้เร็วขึ้น หรือแม้กระทั่งมีการขนย้ายปลาโดยตรงด้วยรถบรรทุก เพื่อรักษาชีวิตปลาหลายล้านตัว
เหตุการณ์ (สภาะวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อม) ทำนองนี้จะเกิดขึ้นอีก ถี่ขึ้น และมันก็จะไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับปลาแซลมอน ปลาอีกหลายชนิดที่อยู่ในธรรมชาติก็จะได้รับผลกระทบในทำนองเดียวกัน
ปัจจุบันทั่วโลก สายพันธ์ปลากว่า 90% กำลังจะสูญพันธ์ และส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ภาวะโลกร้อนทำลายล้างสภาวะ สมดุลของธรรมชาติ มีความรุนแรงมากขนาดไหน ลองนึกภาพแนวปากะรังที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ออสเตรเลีย พื้นที่โดยรวม 350,000 ตร.กม.อย่าง Great Barrier Reef ที่ประเทศออสเตรเลีย ยังถูกทำลายหายไปจะครึ่ง แล้ว
ยังไม่นับรวม มลพิษจากการปล่อยน้ำเสียบ้านเรือน จากโรงงานอุตสาหกรรมที่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการบำบัดน้ำอย่างเหมาะสม ไหลลงสู่คูคลอง แม่น้ำ สู่ทะเลและมหาสมุทร หรือการรุกล้ำทำลายชายฝั่งทะเล ป่าโกงกาง แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน หรือการทำลายแนวปะการังแบบทั้งตั้งใจ และไม่ตั้งใจจากการท่องเที่ยว การเดินเรือ และการประมงชายฝั่งแบบผิดกฎหมาย
เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่เกิดขึ้นส่งสัญญาณชัดว่าปัญหาโลกร้อนหนักหนาสาหัส และส่งผลร้ายต่อระบบริเวศน์รุนแรง พวกเราควรทำอะไรสักอย่าง เพื่อแก้ปัญหาแบบจริงจังและให้ผลแบบยั่งยืน
ปัจจุบัน มนุษย์เราเหลือเพียงทะเลและมหาสมุทร เป็นแหล่งทรัพยากรสุดท้าย ที่ยังมีศักยภาพเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญจากธรรมชาติ แต่ไม่รู้ว่าจะอีกนานแค่ไหน … ลำพังเฉพาะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทุกวันนี้มีการนำเข้าอาหารทะเลมาเพื่อบริโภคกว่า 90% เพราะไม่สามารถสรรหาในประเทศได้เพียงพอ โดยใน 1 ใน 3 ของเป็นเป็นปลาที่จับจากธรรมชาติ ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือ 2 ใน 3 ล้วนต้องนำเข้ามาจากฟาร์มเลี้ยงนอกประเทศ
อาจกลายเป็นว่า เรากำลังแก้ปัญหา(ทั้งลดการขาดแคลน และช่วยฟื้นฟูจำนวนปลาในธรรมชาติ)ด้วยการ”สร้าง”ปัญหาใหม่(ที่อาจใหญ่กว่า) ปัจจุบันอุตสาหกรรมการทำฟาร์มปลาขยายตัวสูงมาก ขนาดตลาดปัจจุบันมีมูลค่าถึง 180 พันล้านเหรียญสหรัฐ … ภายในอีก 2-3 ปี มีการคาดการณ์กันว่า ปลาเลี้ยงจะเริ่มมีปริมาณมากจนเพียงพอที่จะทดแทน ปลาที่จับจากธรรมชาติ โดยขนาดตลาดประเมินกันว่าจะเติบโดจน 270 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2027
การทำฟาร์มปลาสร้างปัญหามลภาวะ ทั้งจากน้ำเสียที่เกิดจากการให้อาหารให้กับปลาเลี้ยงปริมาณมาก ที่ถูกจำกัดบริเวณ ทำให้มีอาหารเหลือตกค้าง ปัญหาโรคระบาดจากการที่ปลามีสุขภาพอ่อนแอ ความเครียดสะสม โรคระบาดจากความแออัด ปัญหาการตกค้างของยาปฎิชีวนะในระบบนิเวศน์ ที่ใช้รักษาปลาที่ป่วย … โรคระบาดจากไวรัส เช่น Infectious salmon anemia (ISA) เป็นตัวอย่างหนึ่งที่กระทบอุตสาหกรรมการทำฟาร์มปลา (โดยเฉพาะตระกูล Salmon / Trout) อย่างมีนัยสำคัญ
แถมการเลี้ยงปลา ก็ใช้ปลามาเป็นอาหาร มีการจับปลา Herrings / Sardines จำนวนมาก เพื่อมาทำใช้เป็นอาหารปลาเพื่อเลี้ยงแซลมอนอีกต่อหนึ่ง
ประเทศไทยการทำฟาร์มปลา ก็นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวทุกปี เรามีการเลี้ยงปลาทั้งปลาน้ำจือและปลาน้ำกร่อย
ในกลุ่มปลาน้ำกร่อย ส่วนใหญ่ก็จะเลือกเลี้ยงปลากะรัง หรือปลาเก๋า (grouper) และปลากะพงแดง (snapper) และกะพงขาว (barrumundi) โดยพื้นที่เลร้ยงส่วนใหญ่ก็อยู่ทางภาคใต้ เช่น สงขลา สตูล ตรัง ส่วนใหญ่ขะเลี้ยงแบบปลากะชัง (คือใส่กรงแล้วเลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติเลย) กว่า 70% เป็นแบบนี้ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ทางภาคกลางและตะวันออก ตามจังหวัดอย่าง สมุทรปรการ สมุทรสงคราม และฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่ก็จะเลี้ยงเป็นแบบปลาบ่อ โดยโซนนี้ กว่า 95% จะเลี้ยงเป็นปลาบ่อ โดยรวมๆ เราเลี้ยงปลาน้ำกร่อยกว่า 22,000 ไร่ มีผลผลิตเกือบ 50,000 ตันต่อปี (ข้อมูลปี 2019)
นอกจากนั้น เรายังมีเลี้ยงปลาน้ำจืด เช่นปลานิล มีการเลี้ยงในปริมาณมากถึงกว่า 440,000 ไร่ มีผลผลิตกว่า 200,000 ตันต่อปี โดยเฉพาะการเลี้ยงปลานิล ผลผลิตระยะหลังก็ลดลง เนื่องจากเกษตรกรประสบภัยแล้งเร็วและยาวนานส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีน้อย
**ในการเลี้ยงปลา โดยเฉพาะปลากระชัง
สร้างปัญหามลพิษทางน้ำ** มีทั้งส่วนที่เป็นปัญหาต้นทางจากคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรม ทั้งเนื่องจากน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำทิ้งจากการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบหนาแน่นที่ไหลผ่านมา หรือภาวะน้ำขุ่น น้ำแดง น้ำเน่าจากการชะของน้ำฝนผ่านผิวดินต่างๆ ซึ่งผู้เลี้ยงไม่สามารถควบคุมได้ หรือน้ำเสียจากการเลี้ยงและให้อาหารมากเกิน เกิดการสะสมของอาหารและมูลที่ตกค้างในแหล่งน้ำ การขาดออกซิเจนในน้ำ การเลี้ยงสัตว์น้ำจำนวนมากเกินกว่าแหล่งน้ำ จนมีออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือการเลี้ยงปลาหนาแน่นเกินไปในพื้นที่ฟาร์มเลี้ยง การวางกระชังหนาแน่นเกินไป จนน้ำไหลผ่านได้น้อย ล้วนแต่สร้างปัญหาทั้งต่อการผลิตปลาที่มีคุณภาพ และก็สร้างปัญหาต่อสภาพแวดล้อมในแหล่งน้ำนั้นๆ
อันที่จริง การเลี้ยงปลาเชิงอุตสาหกรรมก็ไม่ได้แย่ไปทั้งหมด เทียบกับการเลี้ยงปศุสัตว์ชนิดอื่น เลี้ยงปลาดูจะใช้ทรัพยากรน้อยกว่ามาก เพราะปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น ไม่เหมือนไก่ หมู วัว ไม่มีการนำสารอาหารไปสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย แถมปลาอยู่ในน้ำ ที่มีตัวช่วยพยุงตัวให้ลอยอยู่ในน้ำ ไม่ต้องใช้พลังงานต้านแรงดึงดูดโลกมาเท่ากับสัตว์บก หรือสัตว์ปีก โดยเฉลี่ย อัตราการแลกเนื้อ FCR การที่สัตว์นำอาหารที่กินเข้าไปเปลี่ยนเป็นน้ำหนักที่เพิ่มคือ 1:1 เทียบกับไก่ที่ 2:1 หรือหมูและวัว ที่ต้องใช้มากถึง 3:1 และ 7:1 ตามลำดับ
โจทย์ที่ยากตอนนี้คือ ทำอย่างไร ถึงจะเพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนาเทคโนโลยี่ใหม่ การย้ายปลาจากกะชัง(ในแหล่งน้ำธรรมชาติ)มาเลี้ยงบนบก (ในบ่อ) มากขึ้น
อย่างที่ Bluehouse ในรัฐ Miami ประเทศสหรัฐๆ มีการนำลูกปลากว่าห้าล้านตัว Atlantic salmon ที่ปกติเป็นปลาที่เติบโตในแหล่งน้ำเย็นธรรมชาติที่ Norway / Scotland มาเลี้ยงในบ่อน้ำวนในระบบปิดและปรับอากาศ มีการควบคุมสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความเค็ม พีเอช อ็อกซิเจน การเคลื่อนที่ของน้ำ แสงสว่าง (หรือกลางวัน กลางคืน) การบำบัดน้ำเสีย ถ่ายเทก็าซ CO2 และนำน้ำเก่าหลังบำบัดแล้ว มาใช้หมุนเวียน ทาง Blueshoue ตั้งเป้าหมาย 9500 ตันต่อปีในปีแรก และมีแผนจะเพิ่มกำลังผลิตขึ้นเป็น 220,000 ตันในอีก 10 ปี
ไม่แต่แซลมอน เขาก็จะเลี้ยงปลากะพง (Barramundi) ในบ่อปูนบนพื้นที่ขนาดใหญ่ยักษ์ที่รัฐ Arizona อีกด้วย
อย่างไรก็ดี การบรรลุเป้าหมาย ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศ Norway และ Scotland แหล่งกำเนิดและต้นแบบของฟาร์มแซลมอน ให้ความเห็นว่า พวกเขายังไม่แน่ใจว่าการเลี้ยงแบบนี้ จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นไปดังคาดหวัง ทั้งเรื่องของผลผลิตที่ทำได้ ความคุ้มทุน และที่สุดการตอบโจทย์ทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง การลดก๊าซเรือนกระจก สร้าง net zero จากการเปลี่ยนจากเลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติมาเลี้ยงในระบบปิด โดยเฉพาะปัจจัยการใช้พลังงานเพื่อควบคุมสภาวะแวดล้อมในระบบปิด และการบริหารจัดการน้ำ รีไซเคิล และอื่นๆ
ใกล้บ้านเรา อย่างที่ประเทศสิงคโปร์ มีความพยายามยกระดับ การนำปลามาเลี้ยงบนบก โดยยกไปอยู่ใน คอนโดตึก 8 ชั้น โดยทาง Apollo Singapore เคลมว่าสามารถการเลี้ยงปลาตึกได้โดยไม่เปลี่ยนน้ำ (เปลี่ยนน้ำในถังเพียง 5% ต่อครั้ง )ทำได้จริง ด้วยการใช้พืชน้ำเพื่อทำความสะอาดและบำบัดน้ำตามธรรมชาติ ยังมีเทคโนโลยีที่ทำให้ปริมาณน้ำทิ้งจากฟาร์มลดน้อยกว่าฟาร์มเลี้ยงปลาบนบกทั่วไป ซึ่งเกษตรกรมักต้องทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในถังทั้งหมด และในภาพใหญ่ Apollo วางเป้าลดการเปลี่ยนน้ำปนเปื้อนจากปลาให้ลดลงเหลือ 0%
แหล่งอ้างอิง :
Bloomberg.com
National Geographic
Frontiersin.org
Sciencedirect.com
กรมประมง
BBC news
NatGeoThai
ติดตามสาระ GREENTIPS ไอเดียหลากหลายที่ 〜
🌐 : greentips.net
Facebook: Bio100Percent
IG: instagram.com/bio100plus
Line: @BIO100
Blockdit : GREENTIPS
Blogspot : GREENTIPS by BIO100