กาแฟจากแล็บ (LAB-grown Coffee)

Author:

เพาะจากเซลล์ ไม่ต้องถางที่ทำไร่-ลดการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์

นักดื่มกาแฟในอนาคตอาจกำลังจิบกาแฟที่มาจากจานเพาะเซลล์ แทนที่จะมาจากไร่กาแฟ นักวิทยาศาสตร์ชาวฟินแลนด์ที่อยู่เบื้องหลังเทคนิคใหม่ที่จะปลูกกาแฟที่พวกเขาคาดหวังว่า จะเป็นกาแฟที่ยั่งยืนจากในห้องแล็บ

Heiko Rischer นักวิทยาศาสตร์บอกกับว่า "นี่คือกาแฟจริงๆ เพราะไม่มีอะไรอื่นนอกจากส่วนประกอบของกาแฟ" Heiko Rischer บอกพร้อมชี้ไปที่จานผงสีน้ำตาลอ่อน
ทีมนักวิจัยของเขาที่สถาบันวิจัยทางเทคนิคของฟินแลนด์ VTT Technical Research Center of Finland เชื่อว่ากาแฟของพวกเขาจะหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกาแฟ เนื่องจากกาแฟเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมชนิดหนึ่งของโลกและในเชิงพาณิชย์ในระดับการผลิตปริมาณมากพอที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงลดการใช้ดิน ลดก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ แก้ไขปัญหาโลกร้อน สร้างทางเลือกใหม่ให้ธุรกิจเกษตรและอาหาร

“กาแฟจากแล็บ”

กาแฟของเรา ไม่ได้บดมาจากเมล็ดกาแฟ แต่เติบโตจากกลุ่มเซลล์ต้นกาแฟภายใต้สภาวะอุณหภูมิ แสง และออกซิเจนที่ควบคุมอย่างใกล้ชิดในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ และเมื่อนำกาแฟที่ได้ไปคั่วแล้ว ก็สามารถชงผงในลักษณะเดียวกับกาแฟทั่วไปได้
ทีมของริชเชอร์ใช้หลักการเดียวกันกับการเกษตรแบบเซลล์ ที่ใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการฆ่าปศุสัตว์ และปีที่แล้วได้รับการอนุมัติจากทางการสิงคโปร์ให้จำหน่ายเป็นครั้งแรก “แน่นอนว่ากาแฟเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา” ริสเชอร์กล่าวไว้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทำให้พื้นที่เพาะปลูกที่มีอยู่มีประสิทธิผลน้อยลง ส่งผลให้เกษตรกรต้องเคลียร์พื้นที่ป่าฝนขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อหาพืชผลใหม่

การพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตรแบบใหม่จะช่วยแก้ปัญหา ช่วยลดความรุนแรงของวิกฤติสภาพภูมิอากาศ (บรรเทาปัญหาโลกร้อน) ที่เกิดขึ้นจากการทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ เพราะการเพาะปลูกกาแฟ (และเกษตรกรรมดั้งเดิมรูปแบบอื่น) สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก และก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเวลาเดียวกัน

การ ผลิต “กาแฟจากแล็ป ” รูปแบบใหม่นี้ ลดปัญหาด้านโลจิสติกส์ ขนส่ง การบริหารจัดการซัพพลายเชนส์แทบจะทั้งหมด ไม่ว่าจะเรื่องแรงงานเพาะปลูก แรงงานเก็บเกี่ยว ผลิด การใช้เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิง อื่นๆมากมาย เพราะกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารกาแฟ ได้ถูกตัดทอนลงตั้งแต่เรื่องการเตรียมดิน การปลูก การดูแลให้ปุ๋ย ให้น้ำ ดูแลรักษาจากแมลงศัตรูพืช เก็บเกี่ยว ตาก ล้าง บ่ม หรือการจัดเก็บ จนได้สารกาแฟที่ได้อายุการเก็บและเวลา ที่พร้อมจะนำไปคั่วบด

ดังนั้นจึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมองหาทางเลือกอื่นในการเพาะปลูกกาแฟ ทีมงานกำลังดำเนินการวิเคราะห์อย่างละเอียดยิ่งขึ้นว่าผลิตภัณฑ์ของตนจะมีความยั่งยืนเพียงใดหากผลิตในปริมาณมาก แต่เชื่อว่าจะใช้ทรัพยากรน้อยกว่ากาแฟทั่วไป และลดการปล่อยก็าซเรือนกระจกโดยรวมอย่างแน่นอน

การทดสอบรสชาติ
สำหรับผู้ชื่นชอบกาแฟ กุญแจสู่ความสำเร็จของพันธุ์กาแฟที่ปลูกในห้องปฏิบัติการจะอยู่ที่รสชาติของมัน แต่จนถึงขณะนี้มีเพียงคณะนักวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัสที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นพิเศษเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ลองชงกาแฟชนิดใหม่ได้ ต้องบอกก่อนว่าการผลิตกาแฟจากแล็บยังมีช่องว่างให้พัฒนาอยู่อีกมาก 
ล่าสุด รสชาติของกาแฟจากแล็บยังไม่ได้เหมือนกับกาแฟทั่วไปเสียทีเดียวสำหรับกาแฟจากแล็บล็อตแรกๆ “ถ้าจะให้อธิบายรสชาติมันก็พูดยาก แต่สำหรับผมรสชาติของมันยังอยู่กึ่งกลางระหว่างกาแฟและชาดำ” “เมื่อเทียบกับกาแฟปกติ กาแฟเซลล์จะมีรสขมน้อยกว่า” ซึ่งอาจเนื่องมาจากปริมาณคาเฟอีนที่ต่ำกว่าเล็กน้อยและรสผลไม้ยังโดดเด่นน้อยกว่ากาแฟผงที่ผลิตในห้องปฏิบัติการ
“แต่จริงๆ แล้วมันอยู่ที่ระดับของคั่วด้วย กาแฟตัวนี้ค่อนไปทางการคั่วแบบอ่อนจึงให้สัมผัสที่ค่อนไปทางคล้ายๆ ชาอยู่หน่อยๆ” 
อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยยังไม่สามารถกลืน(ดื่มเข้าไป)กาแฟจากแล็บได้ เพราะผลผลิตจากนวัตกรรมด้านการเกษตรชนิดนี้ยังไม่ได้รับการรับรองให้สามารถบริโภคได้ในวงกว้าง ขณะนี้จึงต้องอาศัยเพียงการชิมและบ้วนทิ้งเท่านั้น
เราต้องยอมรับจริงๆ ว่าเราไม่ใช่นักคั่วกาแฟมืออาชีพ และจริงๆ แล้วการปรุงแต่งรสชาติต่างๆ เกิดขึ้นจริงในกระบวนการคั่ว" ริสเชอร์กล่าว ความคิดริเริ่มอื่น ๆ ยังอยู่ในระหว่างการค้นหาทางเลือกที่ยั่งยืนกว่ากาแฟ
Atomo บริษัทสตาร์ทอัพในซีแอตเทิลเมื่อเดือนกันยายน ประกาศว่าได้ระดมทุน 11.5 ล้านดอลลาร์สำหรับ "กาแฟโมเลกุล" ซึ่งมีรสชาติเหมือนกับเครื่องดื่ม แต่มีต้นกำเนิดมาจากวัสดุอินทรีย์อื่นที่ไม่ใช่พืชกาแฟ
แต่ผลสำรวจในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้ชี้ให้เห็นถึงความตระหนักในวงกว้างเกี่ยวกับอาหารทดแทนที่ปลูกในห้องแล็บ แม้ว่าจะมีน้อยกว่าในกลุ่มผู้บริโภคที่อายุน้อยกว่าก็ตาม

แม้จะค่อนข้างชัดเจนว่า “กาแฟจากแล็ป ” ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายอาหารบางคนได้เตือนว่า การดำรงชีวิตของผู้ผลิตกาแฟอาจได้รับผลกระทบหากมีการตอบรับอย่างกว้างขวางต่อผลิตภัณฑ์ตัวนี้ (ผลิตจากห้องปฏิบัติการ)

Rischer ประมาณการว่าจะใช้เวลาอย่างน้อยสี่ปี ก่อนที่กาแฟที่ปลูกในห้องปฏิบัติการของทีมจะได้รับการอนุมัติด้านกฎระเบียบและการสนับสนุนทางการค้า เพื่อให้สามารถวางตลาดเคียงข้างลูกพี่ลูกน้อง (กาแฟทั่วไป) บนชั้นวางได้ โครงการนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในฟินแลนด์ จาการวิเคราะห์ของ Statista ชาวฟินแลนด์อยู่ในกลุ่มผู้บริโภคกาแฟชั้นนำของโลก โดยบริโภคเฉลี่ย 10 กิโลกรัม (22 ปอนด์) ต่อคนต่อปี

สรุป

เรื่องของภูมิอากาศทำให้อุตสาหกรรมด้านการเกษตรและอาหารต้องหันกลับมาทบทวนวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมและพยายามแสวงหาวิธีการผลิตอาหารรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ปัจจุบันเราจะได้เห็นทั้ง เนื้อจากพืช เนื้อปลาจากแล็บ เนื้อจากรา เนื้อวากิวจากเครื่องพิมพ์ 3D และคราวนี้ก็เป็นคราวของกาแฟจากแล็บ ส่วนในฝั่งของผู้บริโภค ตอนนี้ การบริโภคเนื้อสัตว์ลดลงเกือบ 1 ใน 5 ชัดเจนว่าความเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยในอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การลดผลกระทบของวิกฤติภูมิอากาศให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

อ้างอิงข้อมูลและภาพ: www.vttresearch.com


`**ร่วมแบ่งปันสาระธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม🌳 โดย 〜
🌐 : https://bio100.co.th
ⓕ : @Bio100Percent
IG : instagram.com/bio100plus
ʟɪɴᴇ 🆔 : https://bit.ly/bio100qr

Please follow and like us:
error
fb-share-icon