ขยะพลาสติกล้น(เพราะโควิท)จริงหรือ?

Author:

การระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการอุปโภค บริโภคของผู้คนไปอย่างมากมาย หนึ่งในธุรกิจโดดเด่นที่ขยายตัวท่ามกลางวิกฤตการณ์นี้ คือ ธุรกิจส่งอาหาร หรือ food delivery

จากการศึกษาของ Statista มูลค่าทางตลาดของธุรกิจส่งอาหารในประเทศไทยมีมูลค่าถึง 34.7 ล้านบาทไทยในปี 2019 และกำลังเพิ่มขึ้นๆ จนอาจแตะ 46 ล้านบาทไทยในปี 2022

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า จำนวนครั้งของการจัดส่งอาหารไปยังที่พักในปี 2020 อาจมีสูงสุดถึง 66-68 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นขยายตัวที่สูงมาก อาหารถูกจัดส่งถึงหน้าบ้านพร้อมบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลากชิ้นอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ด้วยปัจจัยด้านสุขอนามัยและความสะดวกสบาย หากนับดี ๆ พลาสติกที่มากับอาหารในแต่ละครั้งอาจมากถึง 5–7 ชิ้น

คุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ Green Peace ประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์กับองก์กร Heinrich-Böll-Stiftung Southeast Asia ว่า กรุงเทพมหานครจ้างคนเก็บขยะเพื่อเก็บขยะจากบริเวณขอบถนนของเมือง คนเก็บขยะจะนำขยะที่บรรทุกในแต่ละวันไปขายให้ผู้จำหน่ายขยะ หรือ ที่มักจะรู้จักกันในชื่อ ซาเล้ง เพื่อคัดแยกขยะเพื่อหาของที่ขายได้ เช่น ขวดพลาสติก แก้ว และกระป๋องอลูมิเนียม ขยะที่เหลือจะเข้าไปที่ฝังกลบ และเนื่องจากหลุมฝังกลบทั้งหมดในกรุงเทพฯ เต็มแล้ว จึงส่งไปฝังที่ต่างจังหวัด

การจัดการขยะแบบไม่มีระบบจากส่วนกลางทำให้ขยะจากครัวเรือนในกรุง โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่เป็นที่ต้องการ หรือ ขายไม่ได้ ถูกนำไปฝังกลบเป็นภูเขาขยะหรือไหลลงสู่ทะเล เป็นแหล่งมลพิษ แทนที่จะถูกนำไป recycle อย่างถูกต้อง

ปัจจุบันมีหลายองค์กรและหน่วยงานพยายามให้ความรู้ รวมถึงรับบริจาคขยะเพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นสิ่งของที่มีประโยชน์ หรือ รีไซเคิลเพื่อเปลี่ยนเป็นเชื่อเพลิงอย่างถูกวิธี ลดมลพิษที่จะถูกปล่อยออกจากสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันมีหลายองค์กรและหน่วยงานพยายามให้ความรู้ รวมถึงรับบริจาคขยะเพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นสิ่งของที่มีประโยชน์ หรือ รีไซเคิลเพื่อเปลี่ยนเป็นเชื่อเพลิงอย่างถูกวิธี ลดมลพิษที่จะถูกปล่อยออกจากสิ่งแวดล้อม

  1. ถาด กล่องใส่อาหาร ฝากล่องอาหารพลาสติก แก้วกาแฟ (PET/PP) สามารถนำส่งได้ที่ โครงการ @cirplas.official – บจก. เซอร์พลาส เทค 597/102-103 ตรอกวัดจันทร์ใน แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กทม. 10120 หรือ โครงการ @greenroad.enterprise – กรีนโรด 148/3 หมู่ที่ 19 ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน 51000
  2. ถุงหิ้วพลาสติก ฟิล์มยืดห่ออาหาร ถุงใส่ขนมปัง หลอดดูด (PE) สามารถนำส่งได้ที่ โครงการ @wontogether – บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด(มหาชน) 42/174 ม.5 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210, โครงการ @cirplas.official – บจก. เซอร์พลาส เทค 597/102-103 ตรอกวัดจันทร์ใน แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กทม. 10120 หรือ โครงการ @greenroad.enterprise – กรีนโรด 148/3 หมู่ที่ 19 ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน 51000
  3. ช้อน ส้อมพลาสติก ฝาแก้วกาแฟ (PS) สามารถนำส่งได้ที่ โครงการ @cirplas.official – บจก. เซอร์พลาส เทค 597/102-103 ตรอกวัดจันทร์ใน แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กทม. 10120 หรือ โครงการ @greenroad.enterprise – กรีนโรด 148/3 หมู่ที่ 19 ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน 51000
  4. ซองซอส (พลาสติกวิบวับ พวกถุงขนมกรุบกรอบ) สามารถนำส่งได้ที่ โครงการ @greenroad.enterprise – กรีนโรด 148/3 หมู่ที่ 19 ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน 51000 หรือ โครงการ @n15technology – 7-11 ระบุสาขารับปลายทาง 13127 (เจริญสินธานีพานทอง) หรือ สถานที่จัดส่งที่โรงงาน บจก. N15 เทคโนโลยี 700/754 ม.1 ต.พานทอง อ.พานทอง จ.ชลบุรี 20160
  5. ขวดพลาสติกใส (PET) สามารถนำส่งได้ที่ โครงการ แยกขวด ช่วยหมอ เพื่อส่งต่อไปเป็นเส้นใย ถักทอ เคลือบสะท้อนน้ำ และตัดเป็นชุด PPE Level 2 แบบซักสะอาดใช้ซ้ำได้ 20 ครั้ง (Reusable PPE) – บริษัท ทีเออาร์เอฟ จำกัด (อาคารบริหารจัดการขยะ) 999 หมู่ 1 ต.หนองปรือ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540

จะเห็นว่าหลายศูนย์รับบริจาคขยะหลายประเภท โดยที่เราสามารถรวบรวบรวมให้ได้ปริมาณพอสมควร แล้วค่อยนำส่งได้ ผู้ที่สนใจสามารถค้นคว้ารายละเอียดการรับบริจาคเพิ่มเติมใน Facebook ตามข้อมูลข้างต้น ที่สำคัญ อย่าลืมทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ก่อนนำส่ง ถ้าเราช่วยกัน ปริมาณพลาสติกที่ถูกฝังกลบจะลดลงได้มากและทันที เริ่มต้นไม่ยาก โดยอาจเริ่มจากผลิตภัณฑ์พลาสติกที่บรรจุอาหารที่เราบริโภคสำหรับมื้อต่อไปที่เราสั่งมาทานที่บ้านได้เลย

บรรจุภัณฑ์พลาสติก ปัญหาที่เราทุกคนช่วยได้ 

#environmentalcare #greentips #bio100


หมายเหตุ โปรดอย่าลืมกดติดตามเรา
FACEBOOK: ไบโอร้อยเฟชบุ๊ก
LINEOA: @BIO100
WEB: www.bio100percent.com

Thank you: GREENTIPS

Please follow and like us:
error
fb-share-icon

5 thoughts on “ขยะพลาสติกล้น(เพราะโควิท)จริงหรือ?”

  1. เป็นห่วงอยู่ตลอดว่า จะมีคนแยกขยะที่เราทิ้งไหม? แสดงว่าไม่มีจริงๆ

Comments are closed.